สมศ. ชู 8 แนวประเมินประเทศชั้นนำการศึกษาทั่วโลก ปักธงระบบประเมินการศึกษาทั่วโลก ปักธงระบบประเมินการศึกษาไทยยุคใหม่ รอบ 5 เทียบเท่าสากล

สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) พัฒนากรอบการกระกันคุณภาพครั้งถัดไปให้ยั่งยืนเทียบเท่ากับสากลที่ให้คามสำคัญ 8 ด้านได้แก่ 1. การควบคุมคุณภาพ 2. การสร้างกรอบคุณวุฒิการศึกษาระดับโลก  3. การเปลี่ยนแปลงบทบาทของหน่วยงาน QA ให้มีมาตรฐานสากล 4. การเปรียบเทียบเชิงผลลัพธ์ 5.ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน  6. การรับรองมาตรฐาน (Accreditation) 7. พัฒนาระบบการศึกษา 8. การประกันคุณภาพภายนอก (EQA) ภายใต้ ยุค Industrial Revolution 4.0 พร้อมพัฒนากรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบต่อไป ด้วยการชูทิศทางการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืนด้วยโดยใช้มาตรฐานระบบประกันคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลมาพร้อมนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินการในประเทศไทยซึ่งมุ่งเน้นผลลัพธ์และสมรรถนะของผู้เรียนเป็นหลักนางสาวขนิษฐา ตั้งวรสิทธิชัย รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)หรือสมศ. เปิดเผยในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2562 ว่า จากการศึกษาบริบทการประกันคุณภาพของโลกของเครือข่าย INQAAHE ซึ่งเป็นเครือข่ายหน่วยงานประกันคุณภาพนานาชาติที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานรับรองมาตรฐานแห่งชาติและนักวิชาการเพื่อควบคุมคุณภาพการศึกษาในกว่า 140 ประเทศ พบว่า บริบทการประกันคุณภาพของโลก กำหนดทิศทาง มุมมองและแนวโน้มสำคัญในการผลักดันงานประกันคุณภาพของโลก ประกอบด้วยกัน 8 ด้าน ได้แก่

1.การควบคุมคุณภาพภายใต้ความเป็นสากล จากการศึกษาข้ามพรมแดน (cross border education) การเคลื่อนย้ายผู้เรียน (transnational mobility)

2.การสร้างกรอบคุณวุฒิการศึกษาระดับโลก เพื่อเป็นกลไกการประเมินที่พยายามสร้างความเชื่อมโยงผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้ที่สำเร็จการศึกษากับสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามความต้องการของภาคการผลิตและบริการ 

3.การเปลี่ยนแปลงบทบาทของหน่วยงาน QA ให้มีมาตรฐานสากล เนื่องจากในอนาคตอาจจะมีหน่วยงานอื่นๆ เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่รับรองด้านการประกันคุณภาพ ดังนั้นสมศ.จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนามาตรฐานการประเมินให้เทียบเท่าสากล

4.การเปรียบเทียบเชิงผลลัพธ์ ตามมาตรฐานของหน่วยงานประกันคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

5.ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานประกันคุณภาพเพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือและการยอมรับจากหน่วยงานหรือเครือข่ายในระดับสากล 

6.การรับรองมาตรฐาน (Accreditation) โดยที่สมศ.จะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับสถานศึกษาในการเลือกรับการประเมินคุณภาพภายนอก

7.ระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งมีความน่าสนใจและท้าทาย

8.การประกันคุณภาพภายนอก(EQA) ภายใต้ยุค Industrial Revolution 4.0 โดยการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก หรือที่เรียกว่า AQA มาประยุกต์ใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกแทนรูปแบบกระดาษ

นางสาวขนิษฐา กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนากรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบถัดไป สมศ. ได้กำหนดแนวทางดำเนินการเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนสู่การประกันคุณภาพการศึกษาที่ยั่งยืนในอนาคต โดยใช้มาตรฐานระบบประกันคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินการในประเทศ เช่น พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพให้สามารถรองรับ Digital Transformation เพื่อการรับรอง (Accreditation) และการประเมิน(Evaluation/Assessment) ในลักษณะของการรับประกัน (Guarantee) ออกแบบระบบการประเมินให้มีน้ำหนักครอบคลุมเรื่องการจัดการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น กำหนดความถี่ในการตรวจประเมิน

รวมทั้งจะพิจารณาจากระดับคุณภาพของผลการประเมินในแต่ละสถานศึกษา และทำประชาพิจารณ์ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมให้เสนอแนวคิดและการตรวจประเมิน รวมทั้งออกแบบระบบการประเมินที่เชื่อมโยงกับระบบประกันคุณภาพภายในให้สามารถเทียบเคียงกับในระดับนานาชาติ เช่น PISA, TIMSS เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพตามกรอบมาตรฐานของอาเซียน มุ่งการประเมินและรับรองในระดับหลักสูตร (Program Level) พัฒนากระบวนการเตรียมข้อมูลและหลักฐาน เพื่อการวางแผนก่อนการตรวจประเมินและวิเคราะห์ในเรื่องต่าง ๆ มุ่งเน้นผลลัพธ์ของผู้เรียน ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณวุฒิการศึกษา มาตรฐานอาชีพ และสมรรถนะได้อย่างแท้จริง

 “การประเมินคุณภาพการศึกษาในประเทศไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหามาตรฐานระดับสากลมาใช้ในการประเมินและรับประกันคุณภาพ เพราะมาตรฐานสากลถือว่ามีโครงสร้างในการประเมินที่หลากหลาย เพื่อยกระดับการศึกษาและระบบการจัดการเรียนการสอนของไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพ และมีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในทุกด้านทั้งด้านผู้เรียน การจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการผลิตผู้เรียนที่มีคุณภาพสู่สังคม”นางสาวขนิษฐา กล่าวสรุป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *