แนะหลักการและเทคนิคสอนเด็กสมาธิสั้น (ที่มีปัญหาในการเรียน) ให้ได้ผล

 

 

สำหรับเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้น  นอกจากแพทย์จะให้ยากินเพื่อให้มีสมาธิในการเรียนแล้ว ครู และพ่อแม่มีส่วนช่วยอย่างมาก ในการฝึกทักษะหลายประการที่เด็กสมาธิสั้นยังขาดอยู่  ซึ่งการขาดทักษะเหล่านั้นจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่างเช่น ดื้อ  ซน  พูดไม่ฟัง  ไม่มีระเบียบวินัย  ไม่คิดก่อนทำ ไม่รอบคอบ  ประมาท   เอาแต่ใจตัวเอง  การแก้ไขพฤติกรรมต่างๆส่วนใหญ่จะยากลำบาก  การฝึกทักษะที่ดีให้เกิดขึ้นก่อนจึงมีความสำคัญมาก เพื่อป้องกันเด็กสมาธิสั้นมีพฤติกรรมไม่ดีจนติดเป็นนิสัยไปจนโต

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กสั้น

 

ซึ่งการฝึกทักษะมักต้องใช้เวลานาน ต้องอาศัยความอดทน ความเอาจริงเอาจัง  ความสม่ำเสมอและร่วมมือของครูและพ่อแม่อย่างมาก เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะฝึกทักษะค่อนข้างยาก ฝึกแล้วลืมง่ายในระยะแรกๆ ครูและพ่อแม่จึงไม่ควรคาดหวังผลเร็ว ไม่ควรเปรียบเทียบผลของการฝึกพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นกับเด็กทั่วไป  ถ้าต้องการประเมินผลการฝึก ควรเปรียบเทียบผลที่เกิดกับตัวเด็กเองโดยติดตามระยะยาว  จะเห็นความสำเร็จชัดเจนขึ้นทีละน้อย โดยพบว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ดีมากขึ้นและบ่อยขึ้น จนในที่สุดกลายเป็นนิสัยที่ดีและกลายเป็นบุคลิกภาพที่ดีติดตัวอย่างถาวรเมื่อพ้นจากวัยรุ่นเข้าสู่วัยผู้ใหญ่  หลังจากนั้นการพัฒนาทักษะที่ดีเพิ่มเติมขึ้นอีกจะเกิดขึ้นได้  แต่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาจากภายในตัวเอง ในระหว่างวัยเด็กนี้  พ่อแม่และครูจึงเป็นผู้ช่วยสำคัญ ที่จะฝึกฝนส่งเสริมให้เด็กสมาธิสั้นมีทักษะเบื้องต้นเพื่อเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาตนเองในระยะยาวต่อไป

 

 

สำหรับครูผู้สอน ในการสอนเด็กที่มีสมาธิสั้นนั้นจะต้องใช้ความอดทน และใจเย็นกว่าเด็กคนอื่นๆ รวมถึงรูปแบบและวิธีการสอนสำหรับเด็กที่เป็นโรคนี้ก็ต้องใช้วิธีที่ต่างจากเด็กคนอื่นๆ ด้วย วันนี้เราจึงมีหลักการสร้างแรงจูงในในการสอน และเทคนิคในการสอนเด็กสมาธิสั้นในชั้นเรียนมาฝากคุณครุทุกท่านกันค่ะ

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

หลักในการสร้างแรงจูงใจในการสอน

-ต้องเชื่อว่าเด็กสมาธิสั้นสามารถพัฒนาได้

ปัจจุบันมีผู้ที่มีชื่อเสียงหลายคนที่ประสบปัญหาสมาธิสั้น เช่น ไมเคิล เฟ็ลปส์เป็นนักกีฬาว่ายนน้ำชาวอเมริกัน ผู้ได้รับเหรียญรางวัลในระดับโอลิมปิก วัยเด็ก ไมเคิล เฟ็ลปส์ เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) โดยเขาเริ่มว่ายน้ำตั้งแต่อายุได้ 7 ปี ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากพี่สาวทั้ง 2 คน และเมื่ออายุ10 ขวบ เขาก็สามารถทำลายสถิติระดับประเทศ และในปี ค.ศ. 2000 ได้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ประเทศออสเตรเลีย ด้วยอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น

จากกรณีดังกล่าวเห็นว่า หากเราพัฒนาเด็กสมาธิสั้นเราก็สามารถพัฒนาเขาได้ เด็กสมาธิสั้นที่มีปัญหาทางการเรียนก็เช่นเดียวกัน การฝึกฝนเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการฝึกเด็กสมาธิสั้นให้พัฒนาขึ้น เด็กสมาธิสั้นบางรายอาจมีปัญหาการอ่าน หรือการเขียน หรือการคิดเลข การฝึกฝนที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้เด็กสมาธิสั้นได้เรียนรู้กระบวนการที่เหมาะสม และช่วยให้เขาประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ได้

 

-ต้องเชื่อว่าครูสามารถสอนได้

คุณครูอาจต้องรู้ต้นตอของปัญหาในการเรียนของเด็กสมาธิสั้นว่าเกิดตรงจุดใดและ หาวิธีแก้ไขให้เหมาะสมดังนั้น การสอนเราต้องวิเคราะห์วิธีสอนเสมอๆว่าวิธีดังกล่าวประสบความสำเร็จหรือไม่ หากไม่ประสบความสำเร็จก็แสดงว่าครูจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธี เพื่อให้วิธีที่ดีที่สุดสำหรับใช้สอนเด็กสมาธิสั้นคนนั้นๆ ดังนั้น วิธีการจะต้องขึ้นอยู่กับการรับรู้ของเด็กว่า เขาเรียนรู้วิธีการสอนนั้นจากคุณครูได้หรือไม่ วิธีการสำหรับคนนี้อาจไม่เหมาะกับวิธีการสอนสำหรับอีกคนหนึ่ง ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล สิ่งที่สำคัญคือต้องเชื่อว่า ครูสามารถสอนได้หากไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก ก็ไม่ได้หมายถึงจะไม่ประสบความสำเร็จในครั้งต่อไป

 

และสำหรับเทคนิคที่ใช้ในการสอนเด็กสมาธิสั้นที่มีปัญหาด้านการเรียนในชั้นเรียนนั้น มีด้วยกัน 6 เทคนิคดังนี้

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

1 เทคนิคนั่งร้าน

เป็นเทคนิคหนึ่งในการช่วยให้เด็กสมาธิสั้นมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในการทำงาน โดยเทคนิคนั่งร้านมีวิธีการ ดังนี้

ขั้นที่ 1 บอกปริมาณงานที่ให้ชัดเจน การบอกปริมาณงานที่จะให้จะช่วยให้เด็กรู้เป้าหมายของงานที่ให้ทั้งหมดว่าต้องทำอะไรบ้าง จะช่วยลดคำถามว่างานจะเสร็จเมื่อไหร่การบอกปริมาณงานจะช่วยให้กระบวนการการทำงานเป็นไปด้วยความต่อเนื่องและเกิดวางแผนการทำงานเป็นระบบ เพื่อให้เด็กสมาธิสั้นได้เรียนรู้กระบวนงานในแต่ละชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ขั้นที่ 2 ครูบอกหรืออธิบายคำสั่งให้ชัดเจนทีละขั้นตอนหรือทีละชิ้นงานให้ชัดเจน จะช่วยให้เด็กสมาธิสั้น ได้เข้าใจรายละเอียดงานที่ได้รับมอบหมายได้ถูกต้องแม่นยำ ตัวอย่าง การบอกคำสั่งที่ชัดเจน เช่น ให้หนูวาดรูปดอกไม้ที่มีสีแดง หรือให้หนูบวกเลขจำนวน 5 ข้อ

 

ขั้นที่ 3 ครูเรียกตรวจงานทีละขั้นตอน คุณครูสามารถบอกระยะเวลาของการแก้ไขงานตามขั้นตอนได้การเรียกตรวจงานจะช่วยลดความผิดพลาดของการทำงานหรือกิจกรรมได้ดีขึ้น หากพบความผิดพลาดของการทำงานการแก้ไขก็จะไม่มากเหมือนการเรียกตรวจแล้วให้แก้ไขในครั้งเดียว

 

ขั้นที่ 4 การชื่นชมผลงาน ในขั้นตอนที่ 3 ที่คุณครูเรียกตรวจงานนั้นหากมีประเด็นที่ครูเห็นว่าเด็กทำได้ดีคุณครูควรชื่นชมผลงานในขั้นตอนย่อยๆ วิธีบอกหรือชื่นชมผลงานควรบอกให้ชัดเจน เช่น ครูดีใจมากที่หนูวาดหลังคาบ้านโดยใช้ลายเซ็นที่ชัดเจนดีมากเลย เป็นต้น

 

ขั้นที่ 5 ครูให้ข้อเสนอแนะเชิงบวก โดยไม่ใช่การตำหนิหรือวิจารณ์ผลงานนั้น การให้ข้อเสนอแนะควรเป็นเชิงบวกควรมีการชี้จุดที่ชัดเจน และเป็นเชิงบวก

 

ขั้นที่ 6 การเรียกตรวจงานซ้ำ  จะทำให้เด็กทำงานต่อเนื่องจนเสร็จได้ เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นบางครั้งไม่สามารถจดจ่องานได้อย่างต่อเนื่องตลอดได้การเรียกตรวจงานเป็นการกระตุ้นการทำงานนั้นให้แล้วเสร็จ และครูสามารถบอกระยะเวลาของการเรียกตรวจงานได้ เช่น อีก 2 นาทีครูจะเรียกตรวจงานนะจ๊ะ การบอกระยะเวลาจะเป็นการเตือน และช่วยให้เกิดกระบวนการวางแผนการทำงานได้ว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้งานสำเร็จ

 

ADD/ADHD Evaluations

 

2 เทคนิคการสอนอ่านโดยใช้ความคิดแวบแรก

คือสิ่งที่นึกได้หรือระลึกถึงและบอกออกมาเป็นคำพูดได้ทันทีหลังจากที่ได้เห็น รูปภาพ สัญลักษณ์ คำหรือข้อคำถามที่กำหนดให้โดยสิ่งที่พูดหรือบอกออกมาจะเกิดจากความรู้และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกิดกับสิ่งที่กำหนดให้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคนิคความคิดแวบแรก

การอ่านและเขียนคำจากความคิดแวบแรก

การอ่านระดับคำ โดยคำที่นำมาอ่านนั้นเป็นคำที่เด็กนึกได้และบอกออกมาเป็นคำหลังจากที่ได้เห็นรูปภาพ สัญลักษณ์ คำ หรือ ข้อคำถามที่กำหนดให้โดยครูหรือผู้ฝึกเป็นผู้จดให้ทันทีหลังจากที่เด็กพูดออกมาในส่วนของการเขียนจะใช้คำที่เด็กระลึกได้เช่นเดียวกับการอ่าน แต่จะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการอ่าน คือ ใช้คำที่เด็กระลึกได้มาฝึกหรือสอน เขียนต่อ โดยใช้วิธีการเขียนตามคำบอกและไม่เรียงลำดับคำตามที่เด็กระลึกได้หรืออ่านได้

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Sight words ADHD

 

3 เทคนิค Sight words

“Sight words” คือวิธีการสอนอ่านเป็นคำ โดยใช้รูปภาพ สี สัญลักษณ์เพื่อช่วยให้เด็กสามารถอ่านคำได้ง่ายขึ้น เป็นพื้นฐานของการสอนอ่านระดับคำเพื่อที่จะเป็นแนวทาง หรือทางเลือกในการสอนอ่าน สำหรับเด็กสมาธิสั้นที่มีปัญหาการอ่านในระดับคำได้ โดยมี 3 รูปแบบคือ รูปแบบ sight word สอนอ่านด้วยรูปภาพ / รูปแบบ color sight word สอนอ่านคำโดยใช้สีเน้นคำ / symbol sight word สอนโดยใช้คำและรูปภาพรวมกัน นั่นเอง

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

4 เทคนิค Number follow

เทคนิค Number follow เป็นเทคนิคการสอนเขียนเพื่อป้องกันการเขียนสลับโดยใช้หลักการวิเคราะห์งาน (TaskAnalysis) เด็กสมาธิสั้นที่มีปัญหาการเขียนสลับหรือผิดที่วางอักขระไม่ตรงตำแหน่ง ทำให้คำ หรือความหมายเปลี่ยนไป หรือไม่สามารถอ่านคำนั้นได้เทคนิคนี้จะช่วยให้เด็กสามารถเขียนคำได้ถูกต้อง ใส่อักขระได้ถูกต้องตรงตำแหน่ง

การสอนบวกโดยใช้ตารางหมุดบวกเลข

เทคนิคการสอนด้วยตารางหมุดบวกเลข คือเทคนิคการสอนสำหรับเด็กสมาธิสั้นที่มีปัญหาการบวกเลข หลักการสอนนี้ใช้หลักการสอนแบบ TaskAnalysis โดยมีขั้นตอนเรียนรู้ตารางหมุด ฝึกทักษะการวางจุดตัวตั้ง ฝึกทักษะการวางตัวบวก และขั้นวางตัวตั้งและตัวบวก เด็กต้องเรียนรู้ตามลำดับขั้นเพื่อช่วยให้เด็กสามารถบวกได้อย่างถูกต้อง

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กสมาธิสั้นบวกเลขไม่ถูกต้อง มีดังนี้คือ

  1.                  เด็กไม่เข้าใจจำนวน
  2.                  เด็กไม่เข้าใจการนับเพิ่ม
  3.                  เด็กไม่เข้าใจเครื่องหมายบวก
  4.                  เด็กไม่เข้าใจคำว่าตัวตั้ง
  5.                  เด็กไม่เข้าใจคำว่าตัวบวก
  6.                  เด็กไม่เข้าใจจำนวนก่อนหน้าและจำนวนต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

5 เทคนิค Task Analysis ในการเขียนพยัญชนะ

เทคนิค Task Analysis ในการเขียนหัวพยัญชนะ 44 ตัว โดยแบ่ง หัวพยัญชนะออกเป็น 5 กลุ่ม การใช้เทคนิคนี้ครูต้องรู้ปัญหาการเขียนหัวพยัญชนะของเด็กก่อนและวิเคราะห์ว่าเป็นหัวพยัญชนะกลุ่มใด เทคนิคนี้จะช่วยทำให้เด็กสามารถเขียนหัวพยัญชนะได้ถูกต้อง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคนิค Task Analysis

 

ขั้นตอนการการวิเคราะห์งาน มีรายละเอียดดังนี้

Task Analysis คือ การวิเคราะห์งานออกเป็นขั้นตอนย่อย

ความสามารถพื้นฐาน คือความสามารถที่มีอยู่ที่สามารถทำได้ในปัจจุบัน หรือขณะนั้น

Job ระบุชื่องานใหญ่ (การเขียนพยัญชนะ)

Task ระบุชื่องานย่อย (หัวหน้าบน หัวหลังบน หัวล่างหน้า หัวล่างหลัง หัวหยัก)

Element อธิบายวิธีการย่อยแยกแบ่งข้อๆ

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

6 เทคนิค Words group

เทคนิค Words group เป็นเทคนิคการสอนอ่านสำหรับเด็กสมาธิสั้นที่มีปัญหาการอ่านคำ โดยใช้เทคนิคที่จัดหมวดหมู่คำในหมวดเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดความง่าย ซึ่งการจำคำจะช่วยให้เกิดการสังเกตคำ และอ่านคำได้ใช้เมื่อเริ่มต้นการฝึก กรณีเด็กไม่สามารถสะกดคำหรือใช้วิธีปกติในการอ่านคำได้หากใช้วิธีนี้แล้ว ก็สามารถสอนเทคนิคการสะกดคำหลังจากนั้นได้ ซึ่งมีด้วยกัน 6 ขั้นตอน บอกชื่อภาพของใช้ในหมวด —- อ่านคำพร้อมภาพประกอบ —- ทบทวนอ่านคำพร้อมภาพประกอบ —- ถอดภาพ —- ถอดคำพร้อมภาพประกอบ —- การอ่านคำศัพท์สลับตำแหน่ง

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคนิค Words group

 

 

เด็กสมาธิสั้นเป็นเด็กที่ต้องการความเข้าใจและวิธีการดูแลที่มากเป็นพิเศษ เพียงแต่ผู้ดูแลและผู้สอนต้องเชื่อก่อนว่าพวกเขาเหล่านี้สามารถพัฒนาได้และหารูปแบบ วิธีการที่เหมาะสมกับเด็กสมาธิสั้นแต่ละคนเพื่อให้เขาพัฒนาให้ถูกจุด เพื่อให้เขาพัฒนาตนเองไปในการที่เขาถนัดตามหนทางของตนเองด้วย

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

:http://www.smartteen.net/ADHD4.php

:คู่มือการจัดการชั้นเรียนและเทคนิคการสอนเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นที่มีปัญหาการเรียน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

 

 

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

:https://www.thestar.com/life/2012/10/08/parenting_a_child_with_adhd_made_more_stressful_because_of_stigma_misunderstanding.html

:https://pediaplex.net/child-development-center/add-adhd-testing/

:https://www.coopereyecare.com/blog/childrens-vision-problems-are-often-misdiagnosed-as-adhd

:http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/teacher/24798

:https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/382115

:https://www.understood.org/en/learning-thinking-differences/child-learning-disabilities/dyslexia/12-tips-to-help-kids-with-dyslexia-learn-sight-words

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *