สื่อสร้างสรรค์ โอกาสทางการศึกษา วิทยาลัยการออกแบบ ม.รังสิต

อย่างที่รู้ๆกันอยู่แล้วว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะอะไร?

ก็เพราะเป็นการขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนาของประเทศ และในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่จำกัดเพียงแค่พัฒนาคนปกติ แต่ยังสามารถพัฒนาผู้พิการได้เช่นกัน ประเทศไทยของเราก็ให้ความสำคัญ โดยประกาศเป็นพระราชบัญญัติด้านการพัฒนาผู้พิการ สิทธิของผู้พิการในการเข้าถึงข่าวสาร ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร 2550 จำนวนผู้พิการที่กำลังศึกษาอยู่ส่วนมากเป็นผู้ที่มีแนวโน้มว่าสามารถพึ่งพาตนเองได้ และการศึกษาไทยเองก็เอื้อต่อผู้พิการมีระบบการศึกษาในรูปแบบ โรงเรียนโสตศึกษาสำหรับผู้พิการ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ให้โอกาสเปิดรับและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการ และปรับกระบวนการสอนให้มีความเหมาะสมตามทักษะการรับรู้และพื้นฐานของแต่ละบุคคล เป็นต้น

อาจารย์อครพล กฤตฤานนท์วงศ์ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ที่มหาวิทยาลัยรังสิต การพัฒนาผู้พิการนั้นเราก็เปิดวิทยาลัย คณะ/สาขา ให้น้องๆ ได้เลือกศึกษาตามความสนใจและความสามารถ ดังเช่น สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้บริการทางการศึกษาแก่ผู้พิการ ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เพราะเราเชื่อว่าศิลปะมีบทบาทที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ‘นิเทศศิลป์’ เรียกว่าเป็นงานสายกราฟิกดีไซน์เนอร์ ผู้กำกับ ครีเอทีฟ เวปไซต์ดีไซน์เนอร์ ผู้พัฒนารูปแบบของการสื่อสาร เป็นเนื้อหาที่เราให้นักศึกษาเกิดความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่จะถ่ายทอดในสื่อต่างๆ ได้ เรามีนักศึกษาผู้บกพร่องทางการได้ยินเข้ามาศึกษากับเราจำนวนหนึ่ง ซึ่งน้องๆ ที่ได้เข้ามาศึกษาจะได้รับโอกาสในการศึกษาเทียบเท่ากับนักศึกษาปกติ เพียงแต่จะมีล่ามภาษามือมาช่วยในการสื่อสารให้เข้าใจมากขึ้น น้องๆจะได้เรียนรู้จักวิธีการคิด และการลงมือทำ เพื่อให้เกิดสร้างสรรค์ผลงานผ่านสื่อต่างๆ ที่เหมาะสมเรียนรู้ ทำความเข้าใจบริบทการของการสื่อสารในสาขาวิชานิเทศศิลป์ตลอด 4 ปีเช่นกัน น้องๆ ได้เป็นอิสระในการค้นหาตนเอง ค้นหาสิ่งที่ถนัดที่สุดเพื่อเชื่อมโยงกับศาสตร์ของนิเทศศิลป์ที่ตรงกับตัวตนมากที่สุด

อยากเป็นอะไร? อะไรที่เหมาะสมที่กับเรา?

สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาต่อยอดได้ในชีวิตประจำวัน หรือทำประโยชน์ในสายอาชีพได้ เมื่อจบไปแล้วสามารถนำทักษะจากการเรียนไปใช้ได้ ความอิสระในการเรียนของน้องๆ จะมีได้ทั้งอิสระทางความคิดและอิสระในเป้าหมายชีวิตที่ตั้งไว้ คณาจารย์และเพื่อนๆ เป็นเพียงแรงกระตุ้นให้เกิดกำลังใจ คอยสนับสนุนผลักดัน ส่งเสริมให้นักศึกษาผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถต่อยอดระดับสูง

ผลงานที่น้องๆ เหล่านี้หลังจากผ่านการเรียนรู้ภาคปกติ พบว่าสามารถเข้าใจ และเรียนรู้ ได้ครบถ้วนและทำงานร่วมกันเป็นทีมกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนได้อย่างไม่เป็นปัญหา และสามารถทำชิ้นงานออกมาได้ไม่แพ้เพื่อนๆ และเป็นที่ยอมรับอีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *