มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เสวนา ความเสี่ยงและโอกาสธุรกิจ ตลาดแรงงาน ความสามารถในการแข่งขันและความเป็นธรรม โดย…ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT)

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล ของกองทุน การค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) ได้กล่าวในงานเสวนาทางวิชาการว่า “จากข้อมูลผลสำรวจความคิดเห็นของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล กองทุนและการค้าระหว่างประเทศ และคณะเศณษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ธุรกิจขนาดกลางแบะขาดเล็กส่วนใหญ่คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในไทยปี 2568 จะแย่ลงโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดย่อย มีการเตรียมตัวสำหรับการปรับตัวต่อเศรษฐกิจดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในระดับต่ำ เนื่องจากไม่ตระหนักถึงความสำคัญว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ไม่มีเงินทุนสำหรับการลงทุน และบางส่วนนั้นถึงขั้นขาดสภาพคล่องทางการเงิน ปัจจัยที่ผู้ประกอบการคิดว่ามีผลกระทบต่อการลงทุนในปี 2568 มากเป็น 3 อันดับแรก คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย และเสถียรภาพทางการเมือง”

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุน กาค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยการค้าไทย กล่าวต่อว่า ” ในส่วนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทางคณะเศรษฐศาสตร์ และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยมองไปในทิศทางเดียวกันว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยจะอยู่ที่ 2.5 – 3% ซึ่งเป็นระดับการเติบโตที่ต่ำกว่าศักยภาพไม่ได้เป็นสภาวะที่จะทำให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนมากนักประกอบกับอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนทางการเงินยังสูงสร้างแรงกดดันต่อภาคธุรกิจที่มีโครงสร้างทางการเงินอ่อนแอ มีสัดส่วนหนี้สินสูงเมื่อเทียบกับทุน อย่างำรก็ตามความวิตกกังวลต่อปัจจัยเหล่านี้มีทิศทางดีขึ้นในกิจการที่มีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน เช่น ภาคการท่องเที่ยว ภาคเกษตรกรรมและอาหาร เป็นต้น

เพราะการเปลี่บนแปลงหรือผ่านสู่สังคมและเศรษฐกิจแบบดิจิทัลทำให้เกิดการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อย่างมหาศาลของบุคคลจำนวนหนึ่งที่สามารถใช้ประโยชน์จากสภาวะดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างแพลตฟอร์มและระบบนิเวศที่เอื้อต่อการทำธุรกรรมการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจ การลงทุนต่าง ๆ โดยไม่ถูกจำกัดโดยพรมแดนของรัฐชาติไม่ถูกจำกัดโดยข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และสามารถเสนอบริการหรือผลิตสิ้นค้าข้ามธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ทำให้เกิดโมเดลทางธุรกิจใหม่ ๆ จากงานวิจัยของ Goldman Sacks  มีการประเมินเบื้องต้นบ่งชี้

และความโปร่งใสปลอดคอร์รัปชั่นดึงดูดการลงทุน เสถียรภาพทางการเมืองความต่อเนื่องและคงเส้นคงวาของนโนบายดึงดูดการลงทุน รวมทั้งใช้มาตรฐานระบบนิติรัฐที่ดี โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีดึงดูดการลงทุน ต้นทุนการเงินต่ำ และเข้าถึงเหล่งทุนง่ายเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดึงดูดการลงทุน

รศ.ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวต่ออีกว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทั้งหลายภายใต้เศรษฐกิจแบบดิจิทัลสามารถทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและการแบ่งขั้วในสังคมเพิ่มขึ้นก็ได้ ลดลงก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหล่านี้ไปในทางไหนและด้วยการกำกับดูแลทั้งทางนโยบายอย่างไร หรือ กลไกลตลาดในระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปอย่างไร

การประชุมสุดยอดทางด้ารเอไอล่าสุดที่กรุงปารีส  ได้เห็นความแตกต่างระหว่างแนวทางนโยบายที่ต่างพอกันสมควร ระหว่างการเปิดเสรีและผ่อนคลายกฏระเบียบภายใต้รัฐบาลทรัมป์และการกำกับความเสี่ยงเข้มงวดแบบยุโรปบางประเทศ

ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลมีผลทำให้เกิดการแบ่งขั้วด้านอาชีพมากขึ้น อัตราการเติบโตของค่าตอบแทนระหว่างผู้บริหารระดับสูง กับอัตราการเติบโตของคำตอบแทนของคนงานทั่วไปกว้างมากขึ้นทุกวัน เช่นเดียวกับแรงงานที่มีทักษะทางด้านดิจิทัล และ แรงงานที่ไม่มีทักษะในเรื่องดังกล่าวทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ทำให้บริษัทข้ามชาติเครื่องย้ายฐานงานทักษะต่ำเกือบทั้งหมดไปยังดินแดนที่มีแรงงานทักษะต่ำจำนวนมากและมีค่าแรงงานถูก

การแบ่งขั้วทางด้านอุดมการณ์ความคิดและวิถีชีวิตอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ขึ้นอยู่กับมีการใช้เทคโนโลยีไปในทิศทางใด เมื่อเราพูดถึงความเหลื่อมล้ำ เราจพเป็นต้องทำความเข้าใจเรืองช่องว่างดิจิทัล เนื่องจาก “ช่องว่างดิจิทัล” จะทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมย่ำแย่ลง เวลาที่เรานั้นพูดถึงช่องว่างของดิจิทัล

หรือเพราะเรานั้นมักหมายถึงช่องว่างระหว่างกลุ่มที่เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลกับกลุ่มที่เข้าไม่ถึง ความแตกต่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถทางการเงินฐานะทางเศรษฐกิจ ทักษะและศักยภาพของบุคคลที่แตกต่างกันอีกด้วยเราจึงเห็นความแตกต่างของการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศด้อยพัฒนา ความไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้ทำให้เป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพ การศึกษาข้อมูลข่าวสารและโอกาศทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความไม่เท่าเทียมใน การเข้าถึง การใช้และผลกระทบจาก เทคโนโลยีโทรคมนาคมและการสื่อสารของผู้คนตั้งแต่อดีตจนก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลในระยะต่อมา ทำให้ความไม่เท่าเทียมนั้นถูกเรียกในภายหลังว่า “ช่องว่างทางดิจิทัล” หรือ Digital Divide ซึ่งแปลความให้ง่ายก็คือ ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *