สาขาน่าเรียน ! วิทยาการคอมพิวเตอร์ สายเทคโนโลยีห้ามพลาด !

กลับมาอีกครั้งกับการแนะนำสาขาที่น่าเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย รอบนี้พี่ขอแนะนำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่สนใจในด้านเทคโนโลยี อยากเป็นนักเขียนโปรแกรม หรืออยากพัฒนาซอฟต์แวร์ วันนี้พี่จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับสาขานี้ให้มากขึ้น เพื่อที่น้อง ๆ จะได้มีเวลาเตรียมตัวกัน

วิทยาการคอมพิวเตอร์ เรียนอะไรบ้าง?

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ทั้งทางด้านโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ การทำงานภายในคอมพิวเตอร์ และรวมไปถึงการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน วิทยาการคอมพิวเตอร์จะช่วยทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น โดยเป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์ด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์หลายแขนง เช่น ตรรกศาสตร์ สถิติ เรขาคณิต รวมถึงอัลกอริทึมและเทคนิคในการเขียนโปรแกรม ฯลฯ ซึ่งแบ่งการเรียนได้ ดันนี้

  1. การเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์

เป็นการเรียนรู้วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมและซอฟต์แวร์ เช่น ภาษา Java, ภาษา PHP, MySQL เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ถึงหลักการเขียนโปรแกรมหรืออัลกอริทึม เพื่อศึกษาว่ามีโครงสร้างอะไรบ้างที่นำมาใช้ในการเขียนโปรแกรม รวมทั้งศึกษาว่าภาษาที่ใช้ในการเขียนนั้นมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัวอย่างไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ยังเรียนเกี่ยวกับหลักการออกแบบระบบขนาดใหญ่และวิธีการควบคุม/ดูแลระบบ อีกด้วย

  1. โครงสร้างและการควบคุมคอมพิวเตอร์

เป็นการศึกษาว่าคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าอะไรบ้าง มีโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเป็นแบบใด นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และโปรแกรมขั้นพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ควรมีเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้งาน เรียกว่า “ระบบปฏิบัติการ” รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับวงจรคอมพิวเตอร์ที่ใช้เฉพาะงานด้วย เรียกว่า “ไมโครโปรเซสเซอร์” หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ “หน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ (CPU)” นั่นเอง ทั้งนี้เรายังจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเข้ารหัสและการถอดรหัสเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการควบคุมดูแลความปลอดภัยของข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

  1. การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล โครงสร้าง และโปรโตคอลของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ รวมทั้งยังศึกษาเรื่องการนำคอมพิวเตอร์ไปให้บริการต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

  1. การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก/มัลติมีเดีย

เป็นการศึกษาที่ประยุกต์เอาคณิตศาสตร์ไปผสานเข้ากับการออกแบบชิ้นงานรูปร่างต่าง ๆ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “ซอฟต์แวร์เขียนแบบ CAD/CAM” นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการในเรื่องของเสียงและภาพอีกด้วย

  1. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้อย่างชาญฉลาด

เป็นการศึกษาวิธีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาดหรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่มีแม่แบบมาจากมนุษย์หรือเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบวิเคราะห์ภาพ/เสียง เป็นต้น

  1. การคำนวณและการประยุกต์ใช้งานระดับสูง

เป็นการศึกษาถึงหลักการคำนวณของเครื่องคอมพิวเตอร์ และศึกษาวิธีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานระดับสูงที่มีความยากในการประยุกต์ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวภาพ ด้านมัลติมีเดียระดับสูง ฯลฯ

 

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> https://www.chula.ac.th/academic/faculty-of-science/

  1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> https://www.sci.ku.ac.th/web2019/

  1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> https://sc.kku.ac.th/sciweb/

  1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> https://www.science.cmu.ac.th/webthai/index.php#ad-image-0

  1. มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> https://www.sci.tsu.ac.th/

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์มัลติมีเดีย

รายละเอียด >> https://www.kmutt.ac.th/

  1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> https://www.siit.tu.ac.th/admission.php

  1. มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> https://www.nu.ac.th/?page_id=1755

  1. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรม

รายละเอียด >> https://www.mfu.ac.th/education/school/sch-information-technology.html

  1. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> https://informatics.wu.ac.th/

  1. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> https://it.msu.ac.th/home/index.php?page=course&id=1

  1. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> http://www.science.mju.ac.th/SOrganization.asp

  1. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะวิทยาศาสตร์ วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >>  https://science.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=12518&language=th-TH

  1. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> http://undergrad.sci.ubu.ac.th/bsc_computer_science

  1. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> http://www.science.kmitl.ac.th/department-com#/about

  1. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

รายละเอียด >> https://www.kmutnb.ac.th/

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์ วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ (บพิตรพิมุข มหาเมฆ)

รายละเอียด >> https://www.rmutk.ac.th/?page_id=303

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะวิทยาศาสตร์ วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> http://www.sci.rmutt.ac.th/

  1. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> http://comsci.sci.dusit.ac.th/

  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียด >> http://www.cs.sci.ssru.ac.th/

 

คุณสมบัติในการเข้าเรียนมีอะไรบ้าง ?

  • ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
  • ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ให้ศึกษารายวิชาต่าง ๆ เทียบเท่าเกณฑ์หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน สำหรับหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ให้แสดงหลักฐานว่าได้ศึกษาภาคปฏิบัติการเทียบเท่า หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน
  • ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทช่างอุตสาหกรรม(คอมพิวเตอร์)

 

เกณฑ์คะแนนที่ต้องใช้

  • กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ

เกณฑ์คัดเลือก : GPAX 20% // O-NET 30% // GAT 10% // PAT 1 20% // PAT 2 20%

  • กลุ่มวิทยาการคอมพิวเตอร์

เกณฑ์คัดเลือก : GPAX 20% // O-NET 30% // GAT 10% // PAT 1 10% // PAT 2 30%

ติดตามรายละเอียด TCAS64 ได้ที่นี่ https://www.admissionpremium.com/content/5718

 

เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

  1. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ในบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ
  2. ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์
  3. ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์
  4. ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร
  5. ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  6. ผู้ออกแบบและโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ
  7. ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรือแอนิเมชัน
  8. ผู้ประสานงานในโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
  9. ผู้จัดการแผนก ส่วนหรือฝ่ายคอมพิวเตอร์หรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ
  10. ผู้ให้คำปรึกษาด้านระบบคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่าง ๆ
  11. ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านระบบคอมพิวเตอร์

 

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็นสาขาที่กำลังมาแรงในยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้ หากน้อง ๆ คนไหนมีความสนใจในด้านนี้ละก็ ห้ามพลาดเลยเชียว รู้แบบนี้แล้วเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเข้าเรียนต่อในสาขานี้กันเลย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Admission Premium, Campus-star.com และ Dek-d.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *