KMITL INNOKET 2022 : ตลาดนวัตกรรมสร้างอาชีพ-ต่อยอดธุรกิจ

KMITL INNOKET 2022 :
ตลาดนวัตกรรมสร้างอาชีพ-ต่อยอดธุรกิจ
หนุน “ผู้ว่างงาน-ผู้ประกอบการ”
พร้อมโชว์ไฮไลท์สร้างอาชีพด้วยนวัตกรรม

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) รุดเปิดตลาดนวัตกรรมสร้างอาชีพครั้งแรก “เคเอ็มไอทีแอล อินโนเก็ต 2022” (KMITL INNOKET 2022) ตลาดเดียวที่รวบรวมนวัตกรรมที่สามารถสร้างสรรค์เป็นอาชีพใหม่    ต่อยอดธุรกิจ หรือเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ด้วยงบประมาณลงทุนขั้นต่ำที่ 5,000 บาท เพื่อหนุนสร้างรายได้ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตอกย้ำสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในฐานะผู้นำนวัตกรรมระดับโลก (The World Master of Innovation) โดยภายในงานพบไฮไลท์นวัตกรรมจำนวนมาก อาทิ เครื่องล้างรากผักอัตโนมัติ (Smart Root Washer) และแผ่นตรวจวัดสารเคมีชนิดใช้ซ้ำได้มากกว่า 30 ครั้ง นอกจากนี้ ภายในงานยังมีเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านนวัตกรรมในการสร้างโอกาสทางธุรกิจและสร้างอาชีพใหม่จากองค์กรชั้นนำของไทย นำโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (TIJ) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)ทั้งนี้ งานตลาดนวัตกรรมสร้างอาชีพ “เคเอ็มไอทีแอล อินโนเก็ต 2022” (KMITL INNOKET 2022) จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ศูนย์การค้าสามย่าน มิตรทาวน์ กรุงเทพฯ

 


รศ. ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รักษาการ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันในโลกธุรกิจมีอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์หรือกระบวนการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความแตกต่าง ผ่านการผนวกเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ทั้งเพื่อลดต้นทุนในการทำธุรกิจและสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ผู้บริโภค สจล. สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในฐานะ “ผู้นำนวัตกรรมระดับโลก” (The World Master of Innovation) จึงได้สานต่อวิสัยทัศน์ดังกล่าว เพื่อมุ่งนำเสนอให้เห็นถึงโอกาสของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปต่อยอดธุรกิจ เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการที่สร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง หรือกระทั่งสร้างเป็นอาชีพใหม่เพื่อเป็นรายได้เสริมในอนาคต ด้วยงบประมาณลงทุนขั้นต่ำที่ 5,000 บาท หลังสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและประชาชนจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าที่ผลิตภายในประเทศให้แข็งแรงและเติบโตพร้อมขยายโอกาสไปสู่ตลาดโลก
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีบูธ ‘คลินิกธุรกิจอาหาร’ (Pop-Up Clinic) จากคณะอุตสาหกรรมอาหาร ที่พร้อมให้คำปรึกษาสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารถึงกลยุทธ์ในการบริหารกิจการ พร้อมด้วยหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) สำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจร้านอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติจริง อีกทั้งยังมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านนวัตกรรม ในงานเสวนานวัตกรรมสร้างโอกาสทางธุรกิจ – สร้างอาชีพใหม่ จาก 3 องค์กรชั้นนำ ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (TIJ) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สู่การต่อยอดเป็นไอเดียในการสร้างอาชีพ-การทำธุรกิจ ตลอดจนสร้างโอกาสทำกินรูปแบบใหม่ให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำและผู้พ้นโทษ เป็นต้น

โดย รศ. ดร.อนุวัฒน์ ยังกล่าวทิ้งท้ายอีกว่า “สจล. มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการทุกระดับ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งด้านการพัฒนาสินค้าและบริการที่สามารถสร้างความแปลกใหม่ให้สินค้า เพื่อสร้างจุดขายให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังสามารถนำมาต่อยอดในการตลาดใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจแบบก้าวกระโดด”

เครื่องล้างรากผักอัตโนมัติ (Smart Root Washer)

รถเข็น hygienic

ผลิตภัณฑ์สแน็คกรอบจากข้าวเหนียวหัก โดย รศ. ดร.ปิ่นมณี ขวัญเมือง

 

แผ่นตรวจวัดสารเคมีใช้ซ้ำ โดย ดร.อรรณพ คล้ำชื่น ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และ รศ. ดร.วินัดดา วงศ์วิริยะพันธ์

เม็ดดินเผา ป๊อปเพอร์ไลท์ โดย ผศ. ดร.เมตยา กิติวรรณ และ
ผศ. ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์

Bioreactor สู่น้ำส้มสายชูหมักจากเศษเหลือผลไม้ โดย ผศ. ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์

การปรับปรุงพันธุ์และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเบญจมาศ โดย รศ. ดร.กัญจนา แซ่เตียว และคณะอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือตามติดแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมสร้างอาชีพทางเพจ www.facebook.com/kmitlofficial โทรศัพท์ 02-329-8111

 

สามารถติดตามข่าวการศึกษาอื่นๆได้ที่ Facebook fan page : Eduzones

เว็บไซต์ : www.eduzones.com

twitter : Eduzones

Instagram : Eduzones.ig

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *