สวนสุนันทาเผย ผลสำรวจประชาชน”ไม่เห็นด้วย” ยกเลิกแบน – เลื่อนแบน 3 สารพิษเจ้าปัญหา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ 3 สารพิษ  พาราควอต คลอร์ไพริฟอส  และไกลโฟเซต  โดยทำการสำรวจจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกสาขาอาชีพทุกภูมิภาคของประเทศ  จำนวน  1,200   คน   แยกเป็นเพศชาย  ร้อยละ 63.17  และหญิงร้อยละ  36 .83

ผลการสำรวจพบว่า  ส่วนใหญ่  ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกการแบนสารไกลโฟเซต คิดเป็นร้อยละ  87.41  ในขณะที่ร้อยละ 12.59 เห็นด้วยกับการยกเลิกการแบนสารดังกล่าว    นอกจากนี้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลื่อนแบนสารพาราควอตและคลอร์ไพรีฟอส  พบว่าร้อยละ 77.17 ไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนแบน และเห็นด้วยร้อยละ 22.83

สำหรับเหตุผลที่ทำให้ขยายเวลา และยกเลิกการแบนโดยมีความกังวลเรื่องอุตสาหกรรมอาหารเลี้ยงสัตว์เพียงพอหรือไม่นั้น ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 82.42 ค่อนข้างไม่เพียงพอ ร้อยละ 12.75 ไม่เพียงพอ ร้อยละ 3.08  ค่อนข้างเพียงพอ และร้อยละ 1.75 เพียงพออย่างยิ่ง

ประการสุดท้ายหากต้องใช้สารเคมีทั้ง 3 ต่อไป จะมีความกังวลหรือไม่นั้น  ร้อยละ 90.17 ตอบว่า มีความกังวล  ในขณะที่ร้อยละ 9.83 ตอบว่าไม่มีความกังวล

รายละเอียดของข้อคำถาม

1.คิดเห็นอย่างไร กับการยกเลิกการแบนสารไกลโฟเซต

เห็นด้วย                    ร้อยละ 12.59

ไม่เห็นด้วย                 ร้อยละ 87.41

2.คิดเห็นอย่างไร กับการเลื่อนแบนพาราควอต คลอร์ไพรีฟอส

เห็นด้วย                    ร้อยละ 22.83

ไม่เห็นด้วย                 ร้อยละ 77.17

3.เหตุผลที่ทำให้ขยายเวลา และยกเลิกการแบน โดยมีความกังวลเรื่องอุตสาหกรรมอาหารเลี้ยงสัตว์       เพียงพอหรือไม่

เพียงพออย่างยิ่ง           ร้อยละ 1.75

ค่อนข้างเพียงพอ                    ร้อยละ 3.08

ไม่เพียงพอ                           ร้อยละ 12.75

ค่อนข้างไม่เพียงพอ                  ร้อยละ 82.42

4.หากต้องใช้ 3 สารเคมีต่อ ท่านมีความกังวลหรือไม่

มีความกังวล                         ร้อยละ 90.17

ไม่มีความกังวล                      ร้อยละ 9.83

รายละเอียดการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน

เรื่อง  3 สารพิษ  พาราควอต คลอร์ไพริฟอส  และไกลโฟเซต 

วัตถุประสงค์
1) เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อการยกเลิกการใช้สารไกลโฟเซต  และเลื่อนการยกเลิกการใช้สารพาราควอต  และคลอร์ไพริฟอส 

2) เพื่อสะท้อนถึงความตระหนักในอันตรายอันอาจเกิดขึ้นจากการใช้สารพิษดังกล่าวในอุตสาหกรรมอาหารเลี้ยงสัตว์

3) เพื่อต้องการทราบแนวโน้มความคิดเห็นของประชาชน ต่อการยกเลิกการใช้สารไกลโฟเซต  และเลื่อนการยกเลิกการใช้สารพาราควอต  และคลอร์ไพริฟอส

ประชากรที่ศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประทศที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการใช้แบบสอบถาม การสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของกวามกลาดเคลื่อน 土 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามโดยพบตัวต่อตัวและทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นเบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ แล้วจึงบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 – 20 ธันวาคม 2562
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 25 ธันวาคม 2562

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ
เพศ
              ชาย 758 63.17
              หญิง 442 36.83
รวม 1,200 100.0
อายุ
               18 – 30 ปี 363 30.25
               31 – 40 ปี 443 36.92
               41 – 50 ปี 269 22.42
               51 – 60 ปี 88 7.33
               61 ปี ขึ้นไป 37 3.08
รวม 1,200 100.0
การศึกษา
               ต่ำกว่าปริญญาตรี 249 20.75
               ปริญญาตรี 786 65.0
               สูงกว่าปริญญาตรี 165 13.75
รวม 1,200 100.0
อาชีพ
              นักเรียน/นักศึกษา 186 15.50
              เกษตรกร 189 15.75
              ข้าราชการ / พนักงานของรัฐ / วิสาหกิจ 195 16.25
              ค้าขาย / ทำงานส่วนตัว 289 24.08
              ธุรกิจส่วนตัว / เจ้าของกิจการ 248 20.67
              พ่อบ้าน / แม่บ้าน / ผู้เกษียณอายุงาน 93 77.75
รวม 1,200 100.0

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *