Kahoot อีกหนึ่งตัวช่วยให้ห้องเรียนสนุกและได้ความรู้ในเวลาเดียวกัน

ทาง Eduzones ได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณอาห์เตรัม อุดดิน (Ahteram Uddin) รองประธานฝ่ายพาณิชย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จาก Kahoot โดยได้นำเสนอเกี่ยวกับพัฒนาการของแพลตฟอร์มและฟีเจอร์ใหม่ โดยเน้นไปที่การรองรับการใช้งานภาษาไทย

ประวัติของ Kahoot และการเติบโตของบริษัท

  • Kahoot ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์
  • เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2013
  • ในช่วงแรก Kahoot เติบโตขึ้นโดยอาศัยการใช้งานแบบ ปากต่อปาก โดยไม่มีการทำการตลาดแบบชำระเงิน
  • แพลตฟอร์มได้รับความนิยมเพราะ ใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้
  • เริ่มต้นจากการเป็น เกมตอบคำถามฟรี และพัฒนาเป็น แพลตฟอร์มการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมที่สามารถมีผู้คนเช้าใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก
  • ปัจจุบันมี ผู้เข้าร่วมมากกว่า 11,000 ล้านคนทั่วโลก
  • มี พนักงานกว่า 600 คนใน 10 สำนักงานทั่วโลก
  • บริษัทมุ่งเน้นตลาดเอเชียแปซิฟิก โดยมีสำนักงานใน สิงคโปร์ โตเกียว และซิดนีย์
  • ในปัจจุบันบริษัทกว่า 97% ของบริษัทใน Fortune 500 และมหาวิทยาลัยระดับโลก 500 อันดับแรกใช้ Kahoot โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศไทยถึง 20 ล้านคนในปีที่ผ่านมา (2023) นอกจากนี้ บริการพื้นฐานของ Kahoot ยังคงให้บริการฟรีสำหรับครู ในขณะที่ฟีเจอร์ขั้นสูงมีให้ผ่านระบบสมัครสมาชิกใช้อีกด้วย

คุณอาห์เตรัมกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญของ Kahoot! เพราะสังเกตเห็นการเติบโตของการใช้งาน Kahoot และเพิ่งเปิดตัว การรองรับภาษาไทย ก่อนหน้านี้มีความต้องการจากผู้ใช้ให้เพิ่มการรองรับภาษาไทย และตอนนี้สามารถใช้ Kahoot เป็นภาษาไทยได้อย่างเต็มรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาอื่นอีกต่อไป ฟีเจอร์สำคัญที่กล่าวถึง ได้แก่ เนื้อหาที่สร้างด้วย AI ในภาษาไทย ฟีเจอร์ Kahootopia ที่ช่วยให้การเรียนในห้องเรียนเป็นแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น และการผสานรวมกับแพลตฟอร์มหลักอย่าง Google และ Microsoft

เทคโนโลยี AI และความง่ายในการใช้งานของ Kahoot

ก่อนหน้านี้ ถ้าคุณต้องการสร้างคำถามใน Kahoot ต้องพิมพ์คำถามและตัวเลือกคำตอบเอง แต่ตอนนี้ คสามารถใช้ AI ของ Kahoot เพื่อสร้างคำถามโดยอัตโนมัติได้แล้ว

“นี่เป็นการลงทุนครั้งใหญ่ของเรา เพราะเรามีทีมงานที่มุ่งเน้นการพัฒนา โซลูชัน AI ที่ช่วยครู เป้าหมายของเราคือช่วยให้ ครูมีเวลาโฟกัสกับนักเรียนมากขึ้น แทนที่จะเสียเวลากับงานเอกสาร เช่น การสร้างสไลด์, การจดบันทึก หรือการสร้างแบบทดสอบ เราต้องการให้ครูใช้เวลาไปกับการ ช่วยนักเรียนแก้ปัญหา, เข้าใจเนื้อหา และพัฒนาความสามารถของแต่ละบุคคล มากกว่าการนั่งทำงานเอกสารบนคอมพิวเตอร์ ดังนั้น Kahoot จึงช่วยลดภาระงานของครู ทำให้พวกเขา สามารถโฟกัสกับสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ การสอน คุณอาห์เตรัมเกริ่นถึงการใช้งาน Kahoot สำหรับในห้องเรียน”

Kahoot ในห้องเรียน: ฟีเจอร์ใหม่สำหรับครูและนักเรียน
เพิ่ม โหมดการสอน (Lecture Mode) ซึ่งช่วยให้ครูสามารถ อัปโหลดเนื้อหาการสอนและทำการสอนได้โดยตรงบน Kahoot
✅ ครูสามารถ เชื่อมต่อ Kahoot กับ Google Classroom หรือ ตัวช่วยอื่นๆ ได้
✅ สามารถ มอบหมายงานและแบบฝึกหัดให้นักเรียนผ่าน Kahoot ได้
✅ สามารถ ให้คะแนนและวิเคราะห์ผลการเรียนของนักเรียนโดยอัตโนมัติ


นอกจากนี้ ขณะทำแบบทดสอบ ครูสามารถแทรกสไลด์การสอนได้ ตัวอย่างเช่น ครูสามารถ เริ่มต้นด้วยการนำเสนอเนื้อหา จากนั้นสลับไปที่คำถาม และกลับมาสอนต่อได้เลย และยังเพิ่มวิดีโอและสื่อประกอบการสอนได้
✅ สามารถ แทรกภาพหรือวิดีโอจาก YouTube ลงใน Kahoot
✅ สามารถ อัปโหลดวิดีโอของตนเองโดยตรงบน Kahoot เพราะ Kahoot รองรับ ไฟล์วิดีโอที่อัปโหลดได้

ครูยังสามารถ แปลงไฟล์ PDF หรือเอกสารการสอนเป็นเนื้อหา Kahoot ได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที การมอบหมายงานและการบ้านผ่าน Kahoot และช่วยตรวจคำตอบและให้คะแนนโดยอัตโนมัติ
ข้อดีของฟีเจอร์นี้
✅ ช่วยลดภาระงานของครู ไม่ต้องตรวจข้อสอบเอง
✅ สามารถดูผลการเรียนของนักเรียนได้แบบเรียลไทม์
✅ ช่วยให้ครูสามารถติดตามความเข้าใจของนักเรียนแต่ละคน

Kahoot จะช่วยให้ครู วิเคราะห์ข้อผิดพลาดของนักเรียนได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น หากนักเรียนหลายคนทำผิดในหัวข้อเดียวกัน ครูจะเห็นได้ทันทีว่า ควรกลับมาสอนหัวข้อนั้นซ้ำ สิ่งนี้ช่วยให้ครูสามารถ ให้ความสนใจเฉพาะจุดที่นักเรียนต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด Kahoot เป็นเครื่องมือเสริมที่ช่วยครู ไม่ใช่แทนที่ครู ช่วยให้ครูมีเวลาโฟกัสกับนักเรียน แทนที่จะต้องเสียเวลากับงานเอกสารหรือการจัดเตรียมการสอน

ครูสามารถ ใช้ Kahoot แบบฟรีสำหรับห้องเรียนขนาดเล็ก ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถอัปเกรดเป็นเวอร์ชันสมัครสมาชิกเมื่อมีความต้องการฟีเจอร์ขั้นสูง หลายครั้งเราเห็นว่าครูเริ่มใช้ Kahoot เวอร์ชันฟรี จากนั้นเมื่อโรงเรียนเห็นประโยชน์ของแพลตฟอร์ม พวกเขาก็ตัดสินใจ สมัครสมาชิกแบบโรงเรียน เพื่อให้ครูทุกคนสามารถใช้ฟีเจอร์เต็มรูปแบบได้ ในปัจจุบันมี มหาวิทยาลัยและโรงเรียนชั้นนำหลายแห่งในไทยใช้ Kahoot อยู่ด้วยเช่นกัน

สุดท้ายนี้ คุณอาห์เตรัมกล่าวเพิ่มเติมว่า Kahoot มีพันธมิตรด้านเนื้อหาที่น่าเชื่อถือ เช่น  National Geographic, TED-Ed, Britannica, Cambridge University และ Wikipedia เพื่อเป็นตัวช่วยให้ครูได้ใช้เนื้อหาที่แม่นยำและน่าเชื่อถือประกอบการเรียนได้ด้วย รวมทั้งยังสามารถใช้ AI ของ Kahoot เพื่อสร้างแบบทดสอบ ภายในเวลาไม่นาน จากฐานข้อมูลของพันธมิตรต่างๆ และเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนแบบทันสมัย ที่ช่วยให้ครูสามารถนำหัวข้อที่เป็นปัจจุบัน มาใช้ในห้องเรียนได้อย่างรวดเร็ว

ใครที่สนใจอยากทดลองใช้ Kahoot เพื่อเป็นตัวช่วยในห้องเรียน ประหยัดเวลาและสะดวกสบาย สามารถเข้าใช้ได้ที่ >> https://kahoot.it/

หลังจากนี้ถ้า Eduzones มีโอการได้พูดคุยกับหน่วยงานหรือผู้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อช่วยเหลือครูอีกครั้ง จะนำมาเผยแพร่แบบนี้เช่นเคยนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *