แนะเทคนิคการ “จดเลคเชอร์” ให้อ่านได้ง่ายจำได้ไม่ลืม!

 

ในการเรียนในแต่ละวันนั้นน้องๆ นักเรียน นักศึกษาต้องพบเนื้อหามากมายหลายวิชาที่ถ้านั่งฟังเฉยๆ ไม่มีทางจำได้หมด ดังนั้นจึงต้องมีตัวช่วยในการจำอย่าง “การจดเลคเชอร์” ที่จะช่วยให้เราสามารถมาย้อนอ่านเนื้อหา หรือนำไทบทวนก่อนสอบได้ ซึ่งในปัจจุบันการจดเลคเชอร์มีทั้งการจดลงสมุด กระดาษ โน้ตบุ๊ค รวมไปถึง ipad

 

ซึ่งจากงานวิจัยของนักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย Princeton University และ University of California ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการจดเลคเชอร์บนโน๊ตบุ๊คแล้วพบว่า

 

“การจดเลคเชอร์ด้วยมือนั้นดีกว่าพิมพ์บนโน๊ตบุ๊ค เนื่องจากมันช่วยลดความเร็วของนักศึกษาลง ซึ่งการลดความเร็วของการจดเลคเชอร์ลงนี้เอง ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น” วันนี้เราจึงนำเทคนิคการจดเลคเชอร์ลงกระดาษที่จะช่วยให้น้องๆ มีเนื้อหาได้กลับมาอ่านได้ง่าย จำได้ไม่ลืมมาฝากกัน

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

ตั้งใจฟัง ฟังให้เข้าใจก่อนจด

การจดเลคเชอร์ที่ดีนั้น ต้องตั้งใจฟังเนื้อหาเสียก่อน การจดที่ดีไม่ใช่การจดทุกคำพูดของผู้สอนลงไป แต่เป็นการจดจากความเข้าใจในสิ่งที่ฟังลงไป แล้วจัดระเบียบเนื้อหาและทำความเข้าใจกับข้อมูลในสมองก่อนจดเลคเชอร์ลงไป เพราะเมื่อตั้งใจฟังแล้วสมองจะคิดตามและจัดระเบียบเนื้อหา ทำให้การจดนั้นเป็นขั้นเป็นตอน มีระบบและเป็นภาษาของตัวเอง เมื่อกลับมาอ่านก็จะสามารถทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็วและง่ายกว่า

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ lecture

 

มีการย่อ โยงและใช้สัญลักษณ์ในการเลคเชอร์

เทคนิคการจดเลคเชอร์ให้เร็วทันตามที่อาจารย์สอนคือ การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนคำพูดนั้นจะช่วยให้สามารถจดเลคเชอร์ได้ง่าย และรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ง่ายต่อการทบทวนและจำอีกด้วย สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ว่านั้นอาจคิดขึ้นมาเองเพื่อสื่อความหมายของตนเองโดยเฉพาะก็ได้ เช่น ใช้ดอกจัน (***) เพื่อเน้นตรงข้อมูลที่สำคัญหรือเป็นการย้ำประเด็นใหญ่ๆ หรือการใช้เครื่องหมายบวก (+) เพื่อแทนคำว่า “และ” ใช้ลูกศรชี้ขึ้นหรือลงเพื่อแทนคำว่า “เพิ่มขึ้นหรือลดลง” เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการวาดสัญลักษณ์ที่คิดขึ้นมาเองในการเลคเชอร์ด้วยก็ได้ เพราะจะทำให้เด่นชัดและจำได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถจดแบบใช้ตัวย่อที่เราเข้าใจ เพื่อช่วยลดระยะเวลาการจดได้อีกด้วย ไม่จำเป็นต้องเขียนเต็มไปหมดทุกคำ เช่น “ปสก” แทนคำว่า “ประสบการณ์” คำว่า “ตย” แทนคำว่า “ตัวอย่าง” ตัวอักษร “ค.” แทนคำว่า “ความ” เป็นต้น

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ lecture

 

ใช้รูปประกอบการเลคเชอร์

การมีรูปประกอบจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น เพราะคำพูดไม่สามารถบรรยายทุกอย่างออกมาให้เข้าใจได้ทั้งหมด โดยเฉพาะในวิชาที่ยากต่อการจดเลคเชอร์ เช่น วิชาภูมิศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ หรือวิชาด้านศิลปะ การนำภาพจากหนังสือในห้องสมุดหรือจากอินเทอร์เน็ต ปริ้นท์หรือถ่ายเอกสารออกมาตัดแปะลงในสมุดจดเลคเชอร์ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนและจดจำรายละเอียดของบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น

 

               

            

 

ใช้รูปแบบการจดแบบ Cornell

รูปแบบการจดนี้คิดค้นขึ้นโดย Dr. Walter Pauk ซึ่งวิธีเลคเชอร์แบบนี้เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และงานวิจัยจำนวนมากก็การันตีว่าเป็นวิธีการเลคเชอร์ที่สามารถใช้พื้นที่ของกระดาษได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด รวมถึงช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ โดยการแบ่งหน้ากระดาษเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ Taking area

ใช้พื้นที่ประมาณ 70% ของหน้ากระดาษ ส่วนนี้จะใช้จดเลคเชอร์ในขณะที่กำลังเรียนอยู่ ทั้งจากการฟังบรรยาย ไวท์บอร์ด และสไลด์

ส่วนที่ 2 Cue Column

ใช้พื้นที่ด้านซ้ายมือของกระดาษ ใช้ในการเลคเชอร์ประเด็นสำคัญหรือหัวข้อต่างๆ ของเนื้อหา หลังจากที่เลคเชอร์ในส่วนที่ 1 แล้ว เช่น Main idea, keyword, ตัวอย่าง เป็นต้น

ส่วนที่ 3  Summary Area

พื้นที่บริเวณด้านล่างสุดของกระดาษประมาณ 5-7 บรรทัด เป็นพื้นที่สำหรับการเลคเชอร์สรุปที่จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนที่จดมาทั้งหมด

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ record voice in class

 

อัดเสียงช่วยในการเลคเชอร์ได้

ในบางบทเรียนหรือบางวิชาที่อาจารย์สอนเร็ว เนื้อหาเยอะ ซับซ้อนและเสี่ยงจะจดไม่ทัน อีกวิธีที่ช่วยได้มากก็คือการอัดเสียงไว้ฟังอีกครั้ง วิธีนี้จะทำให้เราไม่ตกหล่นซักคำที่อาจารย์สอนในห้อง และสามารถนำกลับมาฟังซ้ำในการนำไปจดเลคเชอร์เพิ่มเติมให้ครบถ้วนก่อนนำไปทบทวนได้

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

แชร์เลคเชอร์กับเพื่อนๆ

เป็นเรื่องยากที่เราจะสามารถจดเลคเชอร์ทันทุกเรื่องทุกประเด็น หรือทุกคลาส ดังนั้นการแลกเลคเชอร์หรือแบ่งปันเลคเชอร์กับเพื่อนร่วมชั้น จะทำให้ได้เนื้อหาสมบูรณ์ขึ้นในส่วนที่เราจดไม่ทัน และอาจช่วยให้เราเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นจากเลคเชอร์ของเพื่อนที่ถนัดวิชานี้ได้อีกด้วย

ได้รู้เทคนิคทั้งหมดในการช่วยจดเลคเชอร์แบบนี้แล้ว ก็หวังว่าจะช่วยให้น้องๆ ที่มีปัญหากับการจดเลคเชอร์ต่างๆ ได้ไม่มากก็น้อย ยังไงก็อย่าลืมนำไปลองทำกันดูนะคะ เพราะการเลคเชอร์ก็คือการทบทวนความรู้อีกทางหนึ่งที่จะช่วยในเรื่องการเรียนและการสอนของเราให้ได้ขึ้นได้ด้วยค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

: https://www.officemate.co.th

:https://today.line.me/th/pc/article/

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://www.welovebookpacker.com/product/lecture-book/

: https://www.freepik.es/fotos-premium/jovenes-estudiantes-escribiendo-notas-aula_1547601.htm

: https://www.telstra.com.au/deals/students

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *