มาทำความรู้จักที่มาของ ”E-leaning” ช่องทางการศึกษายอดนิยมของคนยุคนี้!

ในโลกปัจจุบันที่อะไรๆ ก็ถูกนำมาไว้ในโลกแห่งเทคโนโลยีไปแทบทั้งหมด การศึกษา ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกนำมาอยู่ในโลกแห่งเทคโนโลยีเช่นกัน โดยคำที่เรามักได้ยินกันติดหูในยุคนี้ว่า E-learning ช่องทางการศึกษาออนไลน์ ที่สามารถทำให้เราเรียนรู้ได้ 24 ชั่วโมงและเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และเป็นช่องทางที่กำลังขยายตัวกว้างและรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน วันนี้เราจึงนำที่มาและข้อมูลดีเกี่ยวกับ E-learning มาฝากกันค่ะ

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ความหมาย

ความหมายของ E-learning ถูก ตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกันคือใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนาตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สำหรับผู้เขียนให้ความหมายของ E-learning ว่าเป็น “การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล”

 

ที่มา   

คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึง การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน

โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

จุดเริ่มต้นของ E-learning

จุดเริ่มต้นของสื่อการเรียนการสอน E- learning มีพัฒนาการ มาจากการศึกษาทางไกลผ่านระบบไปรษณีย์ ในทวีปยุโรปเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้เรียน แต่การเรียนในรูปแบบนี้ประสบปัญหาในการติดต่อใช้เวลานาน และบางครั้งสูญหายระหว่างทาง ต่อมามีการเปิด Home-study Program ทางไปรษณีย์สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนจากที่บ้านหรืออยู่ห่างไกลสถานศึกษา

แต่เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษามากขึ้น จึงมีการพัฒนาแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ และโสตทัศนวัสดุเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง ต่อมาเป็นการใช้ซีดี-รอม ในวงการศึกษาเรียกว่า CAI (Computer-aided instruction) และ CBT (Computer-based learning) ในการฝึกอบรมของวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม

 

ในราวปี 1990 เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายมากขึ้น  ผ่านโปรแกรมแสดงผล (Web browser) และโปรโตคอล TCP/IP จึงมีการพัฒนาการเรียนการสอนผ่าน  World Wide Web (www.) โดยใช้ในวงการศึกษาว่า Web-based education หรือ Web-based instruction

ซึ่งเป็นแผนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Educational Technology Plan’1996) ของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกา ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนของนักเรียนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาระบบการเรียนรู้ต่างๆ จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริม และนำสู่การใช้ E- learning  ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI (Web based Intruction) เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ และการอบรม โดยมีองค์กรทางการศึกษามากมายที่ใช้การสอนแบบ E- leraning  ทั้งในระดับมัธยมศึกษา จนถึงระดับอุมดมศึกษาขึ้นไป

 

โดยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ E-learning นี้เป็นสื่อการสอนที่รวมเอาสื่อในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวรวมถึงวิดีโอมาไว้รวมกัน จึงทำให้เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเพราะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ ได้

นอกจากนี้อีกเหตุผลหลักที่ทำให้การเรียนแบบ E-learning ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางก็คือ ความสะดวก เพราะสามารถเรียนได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต และยังมีช่องทางการเรียนทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่ายให้เลือกมากกมายอีกด้วย

 

ซึ่งช่องทางการศึกษา E- learning นั้นนอกจากผู้เรียนจะได้รับประโยชน์แล้วผู้สอนเองก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน โดย ประโยชน์ของ E- learning ที่ผู้เรียนได้รับ ได้แก่

 

-เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา

-เป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

-การสร้างความสามารถในการหาความรู้ด้วยตนเอง

 

ส่วนประโยชน์ที่เกิดกับผู้สอนก็ได้แก่

-ผู้สอนเข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้น และกว้างขึ้น

-ผู้สอนได้เผยแพร่ ความรู้ ประสบการณ์ของตนเองได้อย่างเต็มที่ในช่องทางที่เป็นอิสระ

-เปลี่ยนความรู้ เป็นรายได้ เพราะครูสอนออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ได้ดีทีเดียว

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ e learning student

 

เพราะเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้เกิดช่องทางการศึกษาที่สะดวก และสร้างความยืดหยุ่นในการศึกษาได้อย่างมากทีเดียว แต่ก็อย่าลืมว่าด้วยความยืดหยุ่นที่สามารถเรียนที่ไหน เมื่อไรก็ได้นั้นก็ทำให้ผู้เรียนต้องมีวินัยในตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะหากมัวแต่คิดว่าเมื่อไรก็เรียนได้ ก็จะสายไปกับการเรียนรู้ในบางครั้งด้วยเช่นกันค่ะ

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

: https://codexlearn.me/the-origin-of-e-learning-the-study-boundaries-of-new-generation/

: https://www.epcs.co.th/e-learning/hello-world/

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก

: https://www.fysio.dk/nyheder/nyheder-2019/nyt-medlemstilbud-e-learning-kursus-om-journalforing

: http://www.weeonline.in.th/wee4life/?p=3035

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *